เมนู

[36] เตวิชชบุคคล บุคคลผู้มีวิชชา 3 เป็นไฉน ?
บุคคลผู้ประกอบด้วยวิชชา 3 ชื่อว่า ผู้มีวิชชา 3.
[37] ฉฬภิญญบุคคล บุคคลผู้มีอภิญญา 6 เป็นไฉน ?
บุคคลผู้ประกอบด้วยอภิญญา 6 ชื่อว่า ผู้มีอภิญญา 6.

อรรถกเตวิชชบุคคลและฉฬภิญญบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง เตวิชชบุคคล. บุคคล ผู้ยังบุพเพนิวาสและ
ทิพยจักขุญาณให้เกิดขึ้นแล้วบรรลุพระอรหัตในภายหลังก็ดี ผู้บรรลุพระอรหัต
ก่อน แล้วยังบุพเพนิวาสและทิพยจักขุญาณให้เกิดขึ้นก็ดี ชื่อว่าผู้มีวิชชา 3 ทั้ง
สิ้น (เติวิชฺโช). ก็ข้อกำหนดในการบรรลุเป็นธุระในที่นี้ว่า "ก็ถ้อยคำที่กล่าว
ไว้ในพระสูตรเป็นการแสดงโดยอ้อม ถ้อยคำที่กล่าวในพระอภิธรรมเป็นการ
แสดงโดยตรง " เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ยังวิชชา 2 ให้เกิดขึ้นก่อนแล้วบรรลุ
พระอรหัตในภายหลังนั่นแหละ พระองค์ทรงพระประสงค์เอาใน เตวิชชนิทเทส
นี้. แม้ในบุคคลผู้มีอภิญญา 6 ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาเตวิชชบุคคลและฉฬภิญญบุคคล

[38]

สัมมาสัมพุทธบุคคล

บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเองในธรรม
ทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในกาลก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูใน
ธรรมนั้น และถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียก
ว่า พระสัมมาสัมพุทธะ.

อรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัมมาสัมพุทธบุคคล. คำว่า "ปุพฺเพ
อนนุสฺสุเตสุ"
ได้แก่ ในธรรมอันไม่เคยสดับมาก่อนในสำนักแห่งบุคคลอื่น
ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้สัจธรรมในปัจฉิมภพ. ก็ในภพก่อน ๆ แต่ภพนั้น
พระสัพพัญญโพธิสัตว์ ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา เรียนพระไตรปิฎกทั้ง
3 แล้วยกขึ้นสู่คตปัจจาคตวัตรคือ วัตรที่นำกรรมฐานไปและนำกลับมา เริ่ม
ตั้งกรรมฐานจนจดอนุโลมและโคตรภูญาณ. เพราะฉะนั้น คำว่า "สัมมาสัม-
พุทโธ"
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นผู้ไม่มีใคร ๆ เป็นอาจารย์ในปัจฉิมภพ
คือภพสุดท้ายเท่านั้น.
จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้า ทรงตรัสรู้สัจธรรมทั้ง 4 ด้วยพระองค์
เอง ด้วยญาณอันประจักษ์แก่พระองค์ว่า "อิทํ ทุกฺขํ ฯลฯ อทํ ทุกฺข-
นิโรธคามินีปฏิปทา"
ดังนี้ ในสังขตธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้สดับมาในสำนัก
แห่งบุคคลอื่น เพราะความที่พระองค์เป็นผู้มีบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว. คำว่า
"ตตฺถ" ได้แก่ อรหัตมรรค กล่าวคือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจธรรมทั้ง 4
นั้น. คำว่า "พเลสุ วสีภาวํ" ได้แก่ ย่อมถึงความเป็นผู้ชำนาญในการ
ประพฤติพระสัพพัญญุตญาณ และทศพลญาณทั้งหลาย. ก็กิจอื่น ชื่อว่าควร
กระทำย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำเดิมแต่การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
และพระทศพลญาณ. เหมือนอย่างว่า. อิสริยยศทั้งหมดใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า
ชื่อว่า อิสริยยศนี้ ไม่มาถึงแก่ขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาติ จำเดิมแต่การได้อภิเษก
อิสริยยศนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติมาแล้วทั้งสิ้น ฉันใด ชื่อว่า คุณนี้อันใคร ๆ
ไม่ควรกล่าวว่า ไม่มาถึงแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่แทงตลอดแล้ว, และไม่ประจักษ์แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำเดิมแต่การบรรลุ